เมนู


32. อรรถกถาอานันตริกสมาธิญาณุทเทส


ว่าด้วย อานันตริกสมาธิญาณ


ญาณทั้ง 21 นั้นแล อันพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรผู้ประสงค์จะ
กล่าวโดยประการอื่นอีกให้พิเศษด้วยเหตุอันแสดงถึงความที่มรรคญาณ
แม้ที่กล่าวแล้วในก่อนว่า ทุภโต วุฏฺฐานวิวฏฺฏเน ปญฺญา - ปัญญา
ในการออกและหลีกจากกิเลสขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้ง 2

อันให้สำเร็จวิหารญาณและสมาปัตติญาณต่อจากญาณทั้ง 2 นั้น เป็น
ญาณอันสามารถตัดอาสวะได้เด็ดขาด และเป็นญาณอันให้ผลในลำดับ
ที่ยกขึ้นแสดงว่า อานนฺตริกสมาธิมฺหิ ญาณํ - ญาณในสมาธิอันมี
ในลำดับ
ต่อจากญาณทั้ง 2 นั้น.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อวิกฺเขปปริสุทฺธตฺตา - ความ
บริสุทธิแห่งสมาธิอันไม่ฟุ้งซ่าน
ความว่า จิตย่อมฟุ้งซ่านไปด้วย
ธรรมชาตินั้น ฉะนั้นธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่า วิกเขปะ - ความฟุ้งซ่าน,
คำนี้เป็นชื่อของอุทธัจจะ, ธรรมชาตินี้มิใช่วิกเขปะ - ความฟุ้งซ่าน ชื่อว่า
อวิกเขปะ ไม่ฟุ้งซ่าน, คำนี้เป็นชื่อของสมาธิเป็นปฏิปักษ์ต่ออุทธัจจะ.
ความเป็นแห่งความบริสุทธิ์ ชื่อว่า ปริสุทธัตตะ - ความบริสุทธิ์,
ความบริสุทธิ์แห่งสมาธิ ชื่อว่า อวิกเขปปริสุทธัตตะ - ความบริสุทธิ์แห่ง
1. สมาปัตตัฏฐญาณ, วิหารสมาปัตตัฏฐญาณ.

สมาธิอันไม่ฟุ้งซ่าน, ฉะนั้น อวิกเขปปริสุทธัตตา จึงมีอธิบายว่า
เพราะความเป็นแห่งความบริสุทธิ์ของสมาธิ. จริงอยู่คำนี้ เป็นตติยา-
วิภัตติบอกเหตุแห่งการตัดอาสวะได้ขาด และแห่งการให้ผลในลำดับ
แห่งตน. ในคำว่า อาสวสมุจฺเฉเท - ในการตัดอาสวะได้ขาด มี
วินิจฉัยดังต่อไปนี้
ธรรมชาติใดย่อมไหลไป ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อาสวะ,
ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า อาสวะทั้งหลายย่อมไหลไป คือย่อมเป็นไปทาง
ตาบ้าง ฯลฯ ทางใจบ้าง. อาสวะทั้งหลาย เมื่อว่าโดยธรรมย่อมไหลไป
จนกระทั่งถึงโคตรภู, หรือเมื่อว่าโดยโอกาสคือฐานภูมิอันเป็นที่อยู่ของ
สัตว์ ย่อมไหลไปจนกระทั่งถึงภวัคคภพ ฉะนั้นจึงชื่อว่า อาสวะ,
อธิบายว่า อาสวะทั้งหลายย่อมครอบงำทั้งธรรมนั้นด้วยทั้งโอกาสนั้น
ด้วยเป็นไป. จริงอยู่ อาอักษรนี้ มีอรรถว่ากระทำในภายใน.
เมรัยที่ชื่อว่า มทิระเป็นต้น ชื่อว่า อาสวะ เพราะเป็นเหมือน
ของดอง เพราะอรรถว่าดองอยู่นาน. จริงอยู่ เมรัยที่ชื่อว่า มทิระ
เป็นต้น เพราะดองอยู่นาน ในทางโลก ท่านย่อมเรียกว่า อาสวะ.
ก็ถ้าว่า ชื่อว่า อาสวะเพราะอรรถว่าดองอยู่นานไซร้ อาสวะเหล่านั้น
ก็ย่อมจะมีได้ สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชา
ย่อมไม่ปรากฏ, ในกาลก่อนแต่นี้ อวิชชาไม่ได้มี

แล้ว แต่ภายหลังจึงมี1 ดังนี้เป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติใดย่อมไปคือย่อมไหลไปสู่สังสารทุกข์
ต่อไป แม้เพราะเหตุนั้น ธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่า อาสวะ, อาสวะ
ทั้งหลายย่อมขาดสูญไปด้วยมรรคนั้น ฉะนั้น มรรคนั้นจึงชื่อว่า สมุจ-
เฉทะ - เป็นเครื่องตัดอาสวะขาด.
คำว่า ปญฺญา ได้แก่ ปัญญาในการตัดอาสวะ 4 มีกามาสวะ
เป็นต้นได้ขาด.
คำว่า อานนฺตริกสมาธิมฺหิ ญาณํ - ญาณในสมาธิอันให้ผล
ในลำดับ
ความว่า สมาธิในมรรคได้ชื่อว่า อานันตริกะ เพราะ
ให้ผลโดยแน่นอนทีเดียวในลำดับแห่งความเป็นไปของตน. เพราะเมื่อ
มรรคสมาธิเกิดขึ้นแล้ว อันตรายอะไร ๆ ที่จะขัดขวางการเกิดขึ้นแห่ง
ผลของมรรคสมาธินั้น ย่อมไม่มี. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำมีอาทิ
ว่า
บุคคลนี้พึงเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง
โสดาปัตติผล และเวลาที่กัปไหม้จะพึงมี กัปก็
ไม่พึงไหม้ตราบเท่าที่บุคคลนี้ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่ง
โสดาปัตติผล บุคคลนี้เรียกว่า ฐิตกัปปี. บุคคล

1. องฺ. ทสก. 24/61.

ผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรคแม้ทั้งหมด ชื่อว่า เป็นผู้
มีกัปตั้งอยู่แล้ว1
ดังนี้.
นี้เป็นญาณอันสัมปยุตด้วยอานันตริกสมาธินั้น.

33. อรรถกถาอรณวิหารญาณุทเทส


ว่าด้วย อรณวิหารญาณ


ญาณทั้ง 4 มี อรณวิหารญาณเป็นต้น ท่านยกขึ้นแสดงใน
ลำดับแห่งญาณนี้ เพราะเกิดแก่พระอริยะทั้งหลายผู้บรรลุอริยผลด้วย
มรรคญาณนี้เท่านั้น. ก็ในญาณทั้ง 4 แม้นั้น ท่านยกอรณวิหารญาณ
ขึ้นแสดงก่อน เพราะเกิดติดต่อกันไปแก่พระอรหันต์นั่นแล, และต่อ
แต่นั้น ท่านก็ยกนิโรธสมาปัตติญาณขึ้นแสดง เพราะนิโรธสมาบัติ
นั้นเป็นธรรมมีสัมภาระมาก แม้ในเมื่อเกิดแก่พระอนาคามีและพระ-
อรหันต์ และเพราะนิโรธสมาบัติเป็นธรรมอันท่านสมมุติว่าเป็นนิพพาน
โดยพิเศษ ต่อจากนั้น ท่านก็ยกปรินิพพานญาณขึ้นแสดงว่า ทีฆ-
กาลิกะ - มีกาลนาน เพราะตั้งอยู่จดกาลเป็นที่ปรินิพพานในระหว่าง
กาลปรินิพพาน, ในลำดับต่อจากนั้นท่านก็ยกสมสีสัฏฐฌาณ ขึ้นแสดง
ว่า รัสสกาลิกะ - มีกาลสั้น เพราะตั้งอยู่จดกาลเป็นที่ปรินิพพาน
ในลำดับแห่งการสิ้นกิเลสทั้งปวงของพระอรหันต์ผู้สมสีสะ.
1. อภิ. ปุ. 36/33.